งานวิจัยที่ 5

วิทยานิพนธ์

 

 

                                            เรื่อง

 

 

     การศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง  เมตริกซ์

ที่สอนโดยการจัดสรรกลวิธีการสอนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สายวิชาคหกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขตพระนครใต้

 

 

 

                                              โดย

 

 

                               นายจตุพล    ขาวฟอง

 

 

 

                                               เสนอ

 

 

                    บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เพื่อความสมบูรณ์แห่งปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์-การสอน)

.. 2546

 

 

                             วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

             เพื่อการศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง  เมตริกซ์

โดยคัดสรรกลวิธีการสอน

 

                                                    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

1.      เป็นแนวทางให้ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์นำกลวิธีการสอนเรื่อง  เมตริกซ์  ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ

2.      เป็นแนวทางในการวิจัยในเนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่องอื่นๆ ของคณิตศาสตร์ต่อไป

3.      เป็นแนวทางสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจะได้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

                                                 ขอบเขตของการวิจัย

1.      กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)  สายวิชาคหกรรมสาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขตพระนครใต้  ภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา  2545

2.      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้  คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สายวิชาคหกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขตพระนครใต้  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2545  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน  จากจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 3  ห้องเรียน

3.      เนื้อหาวิชาที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง  เมตริกซ์

4.      ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยคือ 

4.1      ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  การคัดสรรกลวิธีการสอน

4.2      ตัวแปรตาม  ได้แก่ ความก้าวหน้าทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง  เมตริกซ์

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 

1.      แผนการสอน  ผู้วิจัยสร้างแผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง  เมตริกซ์  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สายวิชาคหกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขตพระนครใต้  จำนวน  9  คาบ

2.      แบบทดสอบวัดความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง  เมตริกซ์  ซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนาน  สำหรับใช้ทดสอบก่อนและหลังการเรียนกับกลุ่มทดลองเป็นข้อสอบปรนัยตอบชนิด  4 ตัวเลือก  จำนวน  20  ข้อ  ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น

                                            

 

                           วิธีการดำเนินการวิจัย

 

              1.  สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แผนการสอน  และแบบทดสอบวัดความก้าวหน้าทางการเรียน

                      2.  หาคุณภาพของแบบทดสอบวัดความก้าวหน้าทางการเรียน  โดยนำไปใช้กับนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน  30  คน  และนำมาปรับปรุงไข  แล้วนำไปทดลองกับนักศึกษา  49 คน  เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ  โดยกำหนดเกณฑ์ค่าดัชนีความง่าย  0.20-0.80  และมีค่าดัชนีอำนาจจำแนก  0.20 ขึ้นไป

                       3.  ผู้วิจัยนำแบบทดสอบวัดความก้าวหน้าทางการเรียนที่ได้ผ่านการวิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขแล้ว   จำนวน  20  ข้อ  มาทำการทดสอบก่อนการเรียนกับกลุ่มทดลองโดยใช้เวลาในการสอบ  1  ชั่วโมง  30  นาที

                4.  ผู้วิจัยทำการสอนเรื่อง  เมตริกซ์  ให้แก่กลุ่มทดลองเป็นเวลา  9  คาบ  คาบละ  50  นาที  ตามแผนการสอนที่กำหนดไว้

                         5.  ผู้วิจัยนำแบบทดสอบวัดความก้าวหน้าทางการเรียนจำนวน  20 ข้อ  ซึ่งเป็นแบบทดสอบวัดความก้าวหน้าทางการเรียนฉบับทดสอบก่อนการเรียน  มาทำการทดสอบหลังการเรียนกักลุ่มทดลองโดยใช้เวลาทดลองโดยใช้เวลา  1  ชั่วโมง  30 นาที

                          6.  ผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง  เมตริกซ์  ของนักศึกษามาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังการเรียนกับเกณฑ์  60%  โดยใช้การสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

 

                                                      ผลการวิจัย

 

                             ความก้าวหน้าทางการเรียนเรื่อง   เมตริกซ์  ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สายวิชาคหกรรมศาสตร์   สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล   วิทยาเขตพระนครใต้  ที่สอนโดยการคัดสรรกลวิธีการสอนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  และหลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์  60%  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ  0.05

 

 
Today, there have been 3 visitors (5 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free